เครื่องทดสอบการพ่นหมอกเกลือ
สารบัญ
แนะนำโครงสร้าง
การติดตั้งและข้อควรระวัง
วิธีการใช้งาน
แก้ไขปัญหาขัดข้อง
การวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหา
การบำรุงรักษา
ขอบเขตการตั้งอุณหภูมิ
โครงสร้างเครื่องทดสอบ
วงจรไฟฟ้า
แนะนำโครงสร้าง
A. ภายในห้องทดสอบ
แทงค์พ่น: หัวพ่นแก้วซ่อนเก็บไว้ข้างในของท่อพ่นและสารละลายเกลือจะถูกส่งไปยังเครื่องกระจายทรงกรวย(Diffuser Cone) โดยผ่านสายท่อแท้งค์น้ำพ่นแล้วกระจายส่งไปยังภายในของห้องทดสอบ(ดังภาพC3)
เครื่องปรับปริมาณหมอกเกลือ: ใช้ปรับเพิ่มหรือลดปริมาณหมอกเกลือ(ดังภาพC2)
อ่างอุ่นสารละลายเกลือ: ตั้งอยู่ข้างล่างของแทงค์น้ำพ่นโดยสารละลายในที่นี้ไหลมาจากขวดเติมสารละลายเกลือและระดับน้ำของอ่างนี้ถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติโดยลูกลอยส่วนก้นอ่างจะมีช่องระบายน้ำ(ดังภาพC12)
เครื่องสะสม: หมอกเกลือที่ตกมาจากการพ่นจะถูกเก็บสะสมไว้ในเครื่องสะสมขนาด80CM2 แล้วจะถูกส่งไปยังกระบอกตวงแก้ว(ซ้ายขวาข้างละ1ตัว) โดยผ่านสายท่อ(ดังภาพC5)
แก้วตุ้มเปียก: คือภาชนะใช้ใส่น้ำในยามที่ต้องการความชื้นโดยมีรูปทรงคล้ายตัวL
ชั้นวาง: ทำจากพลาสติกน้ำหนักจุดรวมการวางไม่ควรเกิน2Kg แต่หากกระจายวางจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง10Kg ซึ่ง2ข้างของชั้นวางจะมีรูกลมอยู่ประมาณ2แถวครึ่งโดยมีไว้เพื่อวางแท่งวางของและให้แท่งวางของตั้งฉาก15และ30องศากับลูกดิ่ง(ดังภาพC6, C7)
เครื่องกรองแก้ว: ใช้เพื่อกรองสิ่งปนเปื้อนในสารละลายเกลือ
อ่างเพิ่มความร้อน: อ่างนี้จะติดอยู่ข้างล่างของห้องทดสอบโดยจะใส่น้ำลงไปก่อนแล้วตามด้วยเพิ่มอุณหภูมิเพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องทอสอบคงอยู่ในระดับที่มั่นคงทั้งนี้มีคุณสมบัติเพื่อเพิ่มความร้อนและรักษาความร้อนนั่นเอง(ดังภาพC10)
หัวพ่นขจัดหมอก: ใช้ขจัดหมอกเกลือภายในห้องทดสอบ(ดังภาพC9)
B. ภายนอกของห้องทดสอบ
ไซโครมิเตอร์: ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นของห้องทดสอบ(ดังภาพA3, A4)
กระบอกตวง: เก็บละอองน้ำที่กำลังใช้ทดลองโดยมีขีดแสดงปริมาณวัดสูงสุดถึง50ml ซ้ายขวาข้างละ
ตัว(ดังภาพA6)
อ่างน้ำปลีกแยก: ใช้แผ่นผนึกปิดให้มิดชิดเพื่อไม่ให้สารละลายเกลือรั่วไหลออกภายนอก(ดังภาพC1)
เครื่องกรองอากาศปรับแรงดัน: ปรับแรงดันคอมเพรสเซอร์และกรองอากาศภายในคอมเพรสเซอร์(ดังภาพB8)
ถังลมอิ่มตัวชนิดปิดมิดชิด: ทำจากเหล็กสเตนเลสส์ SUS#304 โดยตั้งไว้ภายในของตู้ควบคุมและเมื่อลมอากาศเข้าสู่ถังนี
喷雾试验机 来自淘豆网m.daumloan.com转载请标明出处.